โครงสร้างการบริหารจัดการวัด

ประวัติวัดมูลจินดาราม ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี
จังหวัดปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม หรือที่ประชานชนทั่วไปเรียกว่า วัดคลองห้า ตั้งอยู่เลขที่ ๙๘
ริมฝั่งคลองประยูรศักดิ์ หมู่ ๓ ตำบลบึงยี่โถ
อำเภอธัญบุรี จังหวัดประทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
มีที่ดินที่ตั้งวัดเนื้อที่ ๗๙ ไร่ ๖๕ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๒๖
ประวัติเดิม
เมื่อวันที่ ๑๘
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙
ร.ศ. ๑๑๕ ค.ศ.
๑๘๙๖ จ.ศ. ๑๒๕๘
ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๑
ค่ำ เดือน ๔ พระปฏิบัติราชประสงค์(เป็นชาวฝรั่ง
ชาติออสเตอเลียชื่อมูลเล่อร์)
กับนางจีน ซึ่งเป็นภรรยา ขออนุญาตสร้างพระอาราม เพื่อเป็นที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสามเณร และได้รับอนุญาตให้สร้างวัดได้เมื่อวันที่ ๑๙
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙
ร.ศ. ๑๑๕ ค.ศ.
๑๘๙๖ จ.ศ. ๑๒๕๘
ตรงกับวันศุกร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๔
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๒
ร.ศ. ๑๑๘ ค.ศ.
๑๘๙๙ จ.ศ. ๑๒๖๑
ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๓
ค่ำ เดือน ๘ (หลัง)
ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๕ โดยกว้าง ๗
วา โดยยาว ๑๑ วา
อนึ่งค่าก่อสร้างวัดมูลจินดารามในครั้งนั้น
สิ้นเงินค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น
๒๔,๘๔๐ บาท (สองหมื่นสี่พันแปดร้อยสี่สิบบาทถ้วน) และยังได้ก่อสร้างเพิ่มเติมอีก โดยมีพระครูธัญญเขตเขมากร หลวงปู่ช้าง
อดีตเจ้าคณะจังหวัดธัญบุรี
วัดเขียนเขต
เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสถานที่ต่างๆ
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๐
ถึง พ.ศ. ๒๔๔๘
รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น
๕,๖๔๐ บาท (ห้าพันหกร้อยสี่สิบบาทถ้วน)
รวมค่าก่อสร้างวัดมูลจินดารามเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๐,๔๘๐
บาท (สามหมื่นสี่ร้อยแปดสิบบาทถ้วน)
ครั้งต่อมาเมื่อวันที่ ๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕
ร.ศ. ๑๒๑ ค.ศ.
๑๙๐๒ จ.ศ. ๑๒๖๔
พระปฏิบัติราชประสงค์
ได้ทำหนังสือขอถวายเป็นพระอารามหลวง
เมื่อเวลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๕ จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดเมืองธัญบุรี
พระองค์ทรงมีพระดำรัสรับสั่งว่า“การที่จะถวายและรับเป็นวัดหลวงนั้นเป็นการที่เกี่ยวข้องกับการบำรุง
เช่น ให้นิตยภัต และกฐินเป็นต้น วัดหลวงมีมากแล้ว
รัฐบาลไม่อยากจะให้รับ”
ครั้งต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕
ร.ศ. ๑๒๑ ค.ศ.
๑๙๐๒ จ.ศ. ๑๒๖๔
ตรงกับวันศุกร์แรม ๑ ค่ำ
เดือน ๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๕
ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเมืองธัญบุรี
โดยแต่งเครื่องแบบทหารเต็มยศ
พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร รัชกาลที่
๖ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จโดยรถพระที่นั่งจากพระราชวังสวนดุสิต ถึงสถานีรถไฟสามเสน
เสด็จประทับรถพระที่นั่งโดยมีรถไฟใช้ฝีจักรจูงรถพระที่นั่งออกจากสถานีรถไฟสามเสนเวลาหนึ่งโมงเช้า ถึงสถานีรถไฟคลองรังสิต เวลาสองโมงเช้า ณ
ที่นั้นมีข้าราชการ
พ่อค้าประชาชน
ทั้งเมืองปทุมธานี
เมืองธัญบุรี
และจังหวัดใกล้เคียง อาทิเช่น เมืองนครนายก
เมืองปราจีนบุรี
พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพ มารอคอยต้อนรับเสด็จมากมาย
พันโทพระฤทธิจักรกำจร ผู้ว่าราชการเมืองธัญบุรี ได้นำดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องสักการบูชาทูลเกล้าถวาย อัญเชิญเสด็จเข้าสู่เมืองธัญบุรี โดยเรือพระที่นั่งชื่อ “สมจิตหวัง”
โดยมีเรือกลไฟลากจูงถึงเมืองธัญบุรี
เมื่อเวลาสี่โมงเช้า
เมื่อเรือพระที่นั่งเทียบท่าเมืองธัญบุรีแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง
พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ประทับ ณ
ห้องเจริญพระพุทธมนต์
ทรงจุดธูป เทียน บูชาพระรัตนตรัย และทรงศีล พอได้เวลาห้าโมงเช้าได้ พระฤกษ์แล้ว
ทรงประกอบพิธีทรงชักเชือกเปิดแพรคลุมป้ายชื่อเมืองพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
ทหารกองเกียรติยศบรรเลงเพลงมหาฤกษ์มหาชัย
ชักธงประจำเมืองขึ้นสู่ยอดเสา
เสร็จจากพรราชพิธีเปิดเมืองธัญบุรีแล้ว
เวลาบ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับได้มาหยุดเรือพระที่นั่งที่หน้าสะพานฉนวนหน้าวัด พระปฏิบัติราชประสงค์ได้ลงมารับเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปประทับภายในอุโบสถ
พระปฏิบัติราชประสงค์อ่านกราบถวายบังคมทูลที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณได้ทรงพระราชทานวิสุงคามสีมา พระราชาคณะ
ฐานานุกรม เปรียญ เจ้าอธิการ
อันดับ คณะรามัญ ได้กระทำสังฆกรรม ผูกพัทธสีมา
พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศสปิดทองลูกนิมิต
และเป็นองค์ประธานประกอบพิธีตัดลูกนิมิตด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง
ซึ่งในสมัยนั้นพระเจ้าอยู่หัวจะทรงประกอบพิธีเกี่ยวกับเรื่องวัดก็เฉพาะพระอารามหลวงเท่านั้น
สำหรับนามวัดนั้น พระปฏิบัติราชประสงค์
ได้กราบทูลขอพระราชทานนามวัดต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ได้พระราชทานนามวัดว่า “วัดมูลจินดาราม”
โดยมีพระประสงค์ให้สอดคล้องกับท่านผู้มีจิตศรัทธาสร้างวัด คือ นายมูลเลอร์ (พระปฏิบัติราชประสงค์)
และนางจีน ตั้งแต่นั้นมา
อนึ่งก่อนที่พระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินกลับ ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๔๐๐
บาท (สี่ร้อยบาท) เพื่อช่วยในการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์วัดอีกด้วย
ในปี พ.ศ.
๒๕๑๙ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (วาสน์
วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธ ฯ
ได้เสด็จเป็นองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญหลังใหม่
ในปี
พ.ศ. ๒๕๒๒ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร
ในสมัยที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระญาณสังวร ได้เสด็จเป็นองค์ประธานยกช่อฟ้าศาลาการเปรียญ
และทรงเป็นองค์ประธานเททองหล่อพระประธานประจำศาลาการเปรียญ
ในปี พ.ศ.
๒๕๒๗ พระเจ้าวรวงส์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายา
ในพลโทสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามกุฏราชกุมาร
ได้เสด็จเป็นองค์ประธานยกช่อฟ้าศาลาการเปรียญ และได้มีพระเมตตาปล่อยพันธ์ปลาหน้าวัดมูลจินดารามอีกด้วย
ในปี พ.ศ.
๒๕๓๒ ตรงกับวันที่ ๘
กันยายน ๒๕๓๒ ม.ล. รสริน
ชยางกูร พร้อมด้วยพระญาติ
และคณะได้นำพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๕
มามอบถวายไว้ให้กับวัดมูลจินดาราม
ทั้งนี้เพื่อให้พสกนิกรได้สักการะกราบไหว้บูชาระลึกถึงคุณธรรมและความดีที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติบ้านเมือง
รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่สร้างวัดจนถึงปัจจุบัน
รูปที่ ๑ พระครูยิ้ม
รูปที่ ๒ พระอาจารย์เรียง
รูปที่ ๓ พระอาจารย์บม
รูปที่ ๔ พระครูแข
รูปที่ ๕ พระอธิการเลื่อน
รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่สร้างวัดจนถึงปัจจุบัน
รูปที่ ๑ พระครูยิ้ม
รูปที่ ๒ พระอาจารย์เรียง
รูปที่ ๓ พระอาจารย์บม
รูปที่ ๔ พระครูแข
รูปที่ ๕ พระอธิการเลื่อน
รูปที่ ๖
พระครูธัญเขตคณารักษ์
(วิเชียร ธญญทินฺโน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมูลจินดารามตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๙
จนถึงปัจจุบัน สมณศักดิ์ที่ พระเทพวุฒาจารย์ และสมัยนั้นยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
อีกด้วย
มีรองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาสรวม ๕ รูป
มีรองเจ้าอาวาส และผู้ช่วยเจ้าอาวาสรวม ๕ รูป
๑. พระครูโอภาสธัญกิจ เป็นรองเจ้าอาวาส
๒. พระบุญธรรม ธมฺมปาโล เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
๓. พระสมพงศ์ สุทฺธิวํโส เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
๔. พระสิงห์ กิตฺติวุฑฺโฒ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
๕. พระมหายุพิน สุวโจ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
มีพระภิกษุ-สามเณรจำพรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จำนวน ๑๐๕ รูป
๒. พระบุญธรรม ธมฺมปาโล เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
๓. พระสมพงศ์ สุทฺธิวํโส เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
๔. พระสิงห์ กิตฺติวุฑฺโฒ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
๕. พระมหายุพิน สุวโจ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส
มีพระภิกษุ-สามเณรจำพรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จำนวน ๑๐๕ รูป
ปัจจุบันวัดมูลจินดารามมีคณะสงฆ์บริหาร
ดังต่อไปนี้
๑. พระครูวิธานวรานุกิจ เจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม
๒.พระมหาบุญใหล ญาณวีโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม
๓.พระครูวินัยธรสุธินันท์ กนฺตวีโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม
๔.พระมหาประเสริฐ สีลเสฏฺโฐ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม
มีพระภิกษุ-สามเณรจำพรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จำนวน ๒๓ รูป
ความศรัทธาของวัด
๑. พระครูวิธานวรานุกิจ เจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม
๒.พระมหาบุญใหล ญาณวีโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม
๓.พระครูวินัยธรสุธินันท์ กนฺตวีโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม
๔.พระมหาประเสริฐ สีลเสฏฺโฐ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม
มีพระภิกษุ-สามเณรจำพรรษา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จำนวน ๒๓ รูป
ความศรัทธาของวัด
พุทธศาสนิกชนมีจิตศรัทธาเลื่อมใสและเคารพนับถืออดีตเจ้าอาวาสพระเทพวุฒาจารย์ มีผู้คนมาร่วมทำบุญที่วัดมูลจินดารามนี้เป็นประจำประมาณ ๕๐๐ – ๘๐๐
คน
กับทั้งมีกิจกรรมเกี่ยวกับทางพระพุทธศาสนาด้วยดีตลอดมา ฯ
สุภาษิตประจำวัด
รักวัดเหมือนบ้าน
รักงานเหมือนชีวิต
รักลูกศิษย์เหมือนลูกหลาน
รักชาวบ้านเหมือนญาติพี่น้อง
ปรัชญา
สิ่งที่คิดไว้ ไม่มีไม่เป็น สิ่งที่มีที่เป็นไม่ได้คิดไว้
สุภาษิตประจำวัด
รักวัดเหมือนบ้าน
รักงานเหมือนชีวิต
รักลูกศิษย์เหมือนลูกหลาน
รักชาวบ้านเหมือนญาติพี่น้อง
ปรัชญา
สิ่งที่คิดไว้ ไม่มีไม่เป็น สิ่งที่มีที่เป็นไม่ได้คิดไว้
ปณิธาน
ของ (พระเทพวุฒาจารย์) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
และอดีตเจ้อาวาสวัดมูลจินดารามปรารภอยากสร้างสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง
จำลองไว้ที่ด้านหลังพระยืน
๑. ลุมพินีวัน :
สถานที่ประสูติ
๒. พุทธคยา : สถานที่ตรัสรู้
๓. สารนาถ : สถานที่แสดงปฐมเทศนา
๔. กุสินารา : สถานที่ปรินิพพาน
สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศล และความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ
๒. พุทธคยา : สถานที่ตรัสรู้
๓. สารนาถ : สถานที่แสดงปฐมเทศนา
๔. กุสินารา : สถานที่ปรินิพพาน
สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศล และความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ
วิสัยทัศน์
วัดมูลจินดาราม อยากให้วัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดปทุมธานี เพื่อที่พ่อค้าประชาชนจะได้มีอาชีพเสริมในด้านค้าขายต่อไป
วัดมูลจินดาราม อยากให้วัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดปทุมธานี เพื่อที่พ่อค้าประชาชนจะได้มีอาชีพเสริมในด้านค้าขายต่อไป
พันธกิจ
วัดมูลจินดาราม
จัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นประจำทุกปี อาทิ
วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันอัฏฐมีบูชา และ วันที่ ๕ ธันวาคม วันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกๆปี จัดบวชชีพราหมณ์ เพื่อถวายเป็นราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดมาอีกด้วย
การจัดองค์การบริหาร
วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันอัฏฐมีบูชา และ วันที่ ๕ ธันวาคม วันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกๆปี จัดบวชชีพราหมณ์ เพื่อถวายเป็นราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดมาอีกด้วย
การจัดองค์การบริหาร
วัดมูลจินดาราม พระครูวิธานวรานุกิจ เจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม เป็นผู้บริหารคณะสงฆ์
พระมหาประเสริฐ สีลเสฏฺโฐ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม ฝ่ายบัญชีการเงิน
คุณทรงวุฒิ บุญเสริม ไวยาวัจกรวัด ฝ่ายการเงินเบิก – จ่าย
สภาพปัจจุบันของวัดมูลจินดาราม
พระมหาประเสริฐ สีลเสฏฺโฐ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม ฝ่ายบัญชีการเงิน
คุณทรงวุฒิ บุญเสริม ไวยาวัจกรวัด ฝ่ายการเงินเบิก – จ่าย
สภาพปัจจุบันของวัดมูลจินดาราม
-
ฐานวัดมูลจินดาราม
เป็นวัดราษฎร์
-
บริเวณวัดมูลจินดาราม
มีเนื้อที่ ๗๕ ไร่
๒ งาน
-
ที่ธรณีสงฆ์มีประชาชนพักอาศัยอยู่ประมาณ
๕๐ ครัวเรือน เสนาสนะ
๑. อุโบสถ ๑ หลัง


อุโบสถหลังนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่
๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๒
เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๔ เมตร
ยาว ๒๒ เมตร ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑
พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ร. ประดิษฐานบนหน้าบันอุโบสถ
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
พระองค์เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลปิดทองลูกนิมิต
กับทั้งเป็นประธานตัดลูกนิมิตด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
ซึ่งในสมัยนั้นพระเจ้าอยู่หัวจะไปทรงจัดทำเกี่ยวกับวัดก็เฉพาะอารามหลวงเท่านั้น พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้พระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช
รัชกาลปัจจุบัน พระพุทธรูปพระประทานประจำอุโบสถว่า พระพุทธวิโสธนมงคลศาสดา
มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าศาสดามงคลผู้ทำให้บริสุทธิ์ ฝาผนังในพระอุโบสถมีเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติสมควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
๓. หลังศาลาการเปรียญ
๔.กุฏิสงฆ์จำนวน ๙ หลัง
๕.หอเจริญพระพุทธมนต์ ๑ หลัง
๖.พระพุทธจักษุมงคลศาสดา ( พระยืน )
๔.กุฏิสงฆ์จำนวน ๙ หลัง
๕.หอเจริญพระพุทธมนต์ ๑ หลัง
๖.พระพุทธจักษุมงคลศาสดา ( พระยืน )
พระพุทธจักษุมงคล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ความกว้างของวิหาร ๖
เมตร ยาว ๑๗ เมตรองค์พระสูง ๑๖ เมตร ๑ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว สิ้นค่าการก่อสร้าง
๒,๔๕๐,๐๐๐ ( สองล้านสี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน )
๗.ฌาปนสถาน (เมรุ) ๑ หลัง
๘.ศาลาบำเพ็ญกุศล ๒ หลัง
๙.แพปลา วังมัจฉาเมืองธัญบุรีจำนวน ๓ หลัง
๗.ฌาปนสถาน (เมรุ) ๑ หลัง
๘.ศาลาบำเพ็ญกุศล ๒ หลัง
๙.แพปลา วังมัจฉาเมืองธัญบุรีจำนวน ๓ หลัง
ปี พ.ศ.
๒๕๒๗ พระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมวลี พระวรชายา
ได้เสด็จเป็นองค์ประธานยกช่อฟ้าศาลาการเปรียญ
และได้เมตตาปล่อยพันธุ์ปลาสวายหน้าวัดมูลจินดาราม
จากวันนั้นถึงวันนี้คนก็มาให้อาหารปลามากขึ้นเป็นลำดับ และตรงนี้ก็ได้ชื่อว่า วังมัจฉา
เมืองธัญบุรี อีกด้วย
๑๐. หอกอง – หอระฆัง
๑๑. ศาลาปริยัติธรรม (สนามสอบบาลี จังหวัดปทุมธานี)
๑๒.พระพุทธโสธรจำลอง
๑๓. พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕

๑๐. หอกอง – หอระฆัง
๑๑. ศาลาปริยัติธรรม (สนามสอบบาลี จังหวัดปทุมธานี)
๑๒.พระพุทธโสธรจำลอง
๑๓. พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕

พ.ศ. ๒๕๔๓
ได้สร้างที่ประดิษฐานพระบรมรูปยืนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
๕ เพื่อเป็นที่เคารพสักการบูชาของพสกนิกรโดยทั่วไป
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
พระองค์เสร็จบำเพ็ญพระราชกุศลปิดทองลูกนิมิต
กับทั้งเป็นองค์ประธานตัดลูกนิมิตด้วยมีพระหัตถ์ของพระองค์เอง เมื่อ ๑๐๐
กว่าปีมาแล้ว
- สิ่งก่อสร้าง วัดมูลจินดาราที่กำลังดำเนินการก่อสร้างคือ ปฏิสังขรณ์ศาลาพระปริยัติธรรม ๓ ชั้น อดีตเป็นสถานที่สอบบาลีประจำจังหวัดปทุมธานี, ปรับปรุงพื้นที่รอบๆองค์พระยืน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท, ปรับพื้นที่คอนกรีต – ถนน ๔๕๐,๐๐๐ บาท
- โบราณวัตถุ วัดมูลจินดารามนี้มีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธประธานภายในอุโบสถ , หลวงพ่อพุทธโสธรจำลอง, ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป
- โบราณวัตถุ วัดมูลจินดารามนี้มีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธประธานภายในอุโบสถ , หลวงพ่อพุทธโสธรจำลอง, ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป
- บุคลากร - บัญชีรายชื่อพระภิกษุ-สามเณร
ผู้อยู่จำพรรษาในวัดมูลจินดาราม ๓ ปี
ย้อนหลัง
พระราชปริยัตยาภรณ์ รก.
เจ้าอาวาส วันที่ ๒๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
มีพระภิกษุ-สามเณร ผู้อยู่จำพรรษาในวัดมูลจินดาราม ๓๒ รูป - พระเทพรัตนสุธี รก. เจ้าอาวาส วันที่
๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.
๒๕๕๔
มีพระภิกษุ-สามเณร
ผู้อยู่จำพรรษาในวัดมูลจินดาราม ๓๒
รูป
- พระครูวิธานวรานุกิจ เจ้าอาวาสวัดมูลจินดาราม วันที่
๓ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๕๕
มีพระภิกษุ-สามเณร ผู้อยู่จำพรรษาในวัดมูลจินดาราม ๒๓ รูป
- โฉนดที่ดิน
ที่ดินที่ตั้งวัดมูลจินดารามมีเนื้อที่
๗๙ ไร่ ๖๕ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๒๖
- การจัดผังวัด
ด้านทิศเหนือยาว
๔๐๐ เมตร ติดต่อกับคลองรังสิตประยูรศักดิ์
ด้านทิศใต้ยาว ๖๐๐ เมตร ติดต่อกับที่ดินเอกชน
ด้านทิศตะวันออกยาว ๖๔๐ เมตร ติดกับคลองซอยที่ ๕
ด้านทิศตะวันตกยาว ๖๔๐ เมตร ติดกับโรงเรียนวัดมูลจินดาราม
ด้านทิศใต้ยาว ๖๐๐ เมตร ติดต่อกับที่ดินเอกชน
ด้านทิศตะวันออกยาว ๖๔๐ เมตร ติดกับคลองซอยที่ ๕
ด้านทิศตะวันตกยาว ๖๔๐ เมตร ติดกับโรงเรียนวัดมูลจินดาราม
- จุดแข็ง(Strengths)
ของวัดมูลจินดาราม
คือเป็นสถานที่ทางการคณะสงฆ์ใช้เป็นสถานที่ประชุมอบนมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส, ระดับเจ้าคณะตำบล, อบรมครูสอนพระปริยัติธรรม, เป็นสถานที่สอบธรรมสนามหลวงประจำปี, เป็นสถานที่สอบธรรมชั้นนวกภูมิ, เป็นสถานที่อบรมพระภิกษุ-สามเณร นวกประจำปี,
วัดมูลจินดาราม
ยังเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของทางราชการ
คือเป็นสถานที่ให้นักเรียนตามโรงเรียนต่าง ๆ แสดงตนเป็นพุทธมามกะประจำปีเป็นสถานที่ประกอบพิธีเวียนเทียนเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของนักเรียน และบรรดาข้าราชการตามหน่วยงานต่างๆเป็นสถานที่ประกอบพิธีไหว้ครูของนักเรียนโรงเรียนวัดมูลจินดารามเป็นสถานที่ทางราชการใช้เป็นสถานที่อบรมลูกเสือชาวบ้าน
เป็นสถานที่อบรมฝึกวิชาชีพ, ประชุมกลุ่มเกษตรกร,
วัดมูลจินดารามยังเป็นวังมัจฉามีปลาสวายอยู่ที่คลองหน้าวัดเป็นจำนวนมาก
- จุดอ่อน(Weaknesses)
ของวัดมูลจินดาราม
คือ หากเดินทางมาโดยรถยนต์
รถค่อนข้างติด วัดไม่มีรั้ว คนชอบมาตกปลา ยากแก่การป้องกันผู้ที่มาขโมยปลา
และข้าวของในวัด โอกาส(Opportunities) ของวัดมูลจินดาราม คือ เป็นศูนย์กลางของประชาชนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง
และเป็นสถานที่ที่หน่วยงานราชการมาจัดงานเกี่ยวกับทางราชการอีกมากมาย เช่น งานฉลอง
๑๐๕ ปี อำเภอธัญบุรี งานโครงการ
“ทำดีเพื่อพ่อ” และงานประเพณีจุดลูกหนู
เป็นต้น
- อุปสรรค(Threats)
ของวัดมูลจินดาราม
คือ วัดมูลจินดารามผึ่งมีการเปลี่ยนเจ้าอาวาสองค์ใหม่ พระภิกษุสงฆ์ยังเป็นกลุ่มๆ
ยังไม่เป็นเอกภาพ ยากต่อการพัฒนาวัดให้เดินไปข้างหน้าได้
- แผนพัฒนาวัด
-
วัดมูลจินดาราม
ส่งพระครูสอนศีลธรรมประจำโรงเรียนเข้าไปสอนในโรงเรียนวัดมูลจินดาราม จำนวน ๔ รูป
-
วัดมูลจินดาราม
มีแผนพัฒนาวัดในอนาคตไว้แล้ว ๔ โครงการด้วยกัน คือ
๑. สร้างกุฏิพักสงฆ์ ๓ ชั้น ๘๐ ห้อง ใช้งบประมาณ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. สร้างเมรุขึ้นมาใหม่ เพื่อทดแทนเมรุเก่าเพื่อปรับทัศนียภาพหน้าวัดใช้งบประมาณ ประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑. สร้างกุฏิพักสงฆ์ ๓ ชั้น ๘๐ ห้อง ใช้งบประมาณ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๒. สร้างเมรุขึ้นมาใหม่ เพื่อทดแทนเมรุเก่าเพื่อปรับทัศนียภาพหน้าวัดใช้งบประมาณ ประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๓. สร้างอุโบสถ ๒
ชั้นขึ้นมาใหม่ทดแทนอุโบสถหลังเก่าเพราะหลังเก่าชำรุดซุดโทรมมากเพราะเป็นอุโบสถยุคสมัย ร.๕ ใช้งบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๔. สร้างวิหารครอบพระยืนปางถวายเนตร
ใช้งบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ในอนาคตข้างหน้าอันไม่นานนี้วัดมูลจินดารามมีแผนพัฒนาวัดไว้ ๔ โ ครงการใหญ่ๆ ซึ่งจะต้องใช้
งบประมาณรวมทั้งสิ้น ๒๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองร้อยสี่สิบล้านบาทถ้วน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น